วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

รู้จักกับ "บ้านประหยัดพลังงาน"

บ้าน คือที่ที่เราอยู่แล้วมีความสุขทั้งกายและใจอ่ะนะคะ แต่ถ้าจะให้ดียิ่งกว่า และทันสมัยยิ่งขึ้น บ้านในยุคนี้ต้องช่วยให้เจ้าของบ้านประหยัดทั้งพลังงานและเงินในกระเป๋า อีกทั้งต้องทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีอายุยืนยาวขึ้นด้วยค่ะ






บ้านประหยัดพลังงานคืออะไร ?

บ้านประหยัดพลังงาน หรือบ้านประสิทธิภาพสูง คือบ้านที่ใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีคุณค่า ก่อให้เกิดมลพิษและมลภาวะน้อย ช่วยแก้ปัญหาโลกร้อน ทำให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุข สะดวกสบาย แล้วส่วนประกอบใดล่ะคะ ที่ทำให้บ้านเราเป็นบ้านประหยัดพลังงาน..ส่วนประกอบนั้นก็คือ การได้รับการออกแบบและสร้างด้วยวัสดุที่เหมาะสม มีตำแหน่งการวางของบ้านที่ดี มีการตกแต่งภายในและใช้เฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดมลพิษและมลภาวะต่อผู้อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมค่ะ

การเป็น บ้านประหยัดพลังงาน ต้องเริ่มตั้งแต่ การออกแบบ ไอเดียที่ สถาปนิก แทรกเข้าไปกับบ้าน ทั้งเรื่องการเลือกใช้วัสดุ การออกแบบดูทิศทางลม

ปัญหาวิกฤตพลังงานและภาวะโลกร้อนกำลังเป็นกระแสร้อนที่สังคมมีความตื่น ตัวกันค่อนข้างมาก และไม่ว่าโจทย์ของเจ้าของบ้าน จะชอบผนังอิฐ ชอบบ้านชั้นเดี่ยว หรือบ้านสองชั้น และชอบบ้านสบายๆ การเป็นบ้านประหยัดพลังงาน นั้นจะต้องเริ่มตั้งแต่การออกแบบ ไอเดียที่สถาปนิกแทรกเข้าไปกับบ้าน ทั้งเรื่องการเลือกใช้วัสดุ การออกแบบดูทิศทางลม

จะว่าไปแล้ว อาคารหรือ บ้านประหยัดพลังงาน ไม่จำเป็นต้องมีสไตล์ที่สลับซับซ้อน ใช้วัสดุอะไรที่ไฮเทคหรอกนะคะ แต่หากคำนึงถึงวิถีธรรมชาติที่เกิดขึ้น และสภาพแวดล้อม ก็น่าจะทำให้การใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างมีความสุข
 
 


เริ่มต้นตั้งแต่การวางแปลนบ้าน ที่จะประหยัดพลังงาน ต้องวางทิศทางให้ลมเข้าทางด้านทิศใต้หรือทิศเหนือ ต้องมีทางลมพัดผ่านได้ตลอดแนวบ้าน และผ่านได้ทุกห้อง แต่ทว่า ด้วยเพราะเมืองไทยเป็นเมืองร้อน ที่ลมไม่แรงนัก ดังนั้น การจะทำให้เกิดลมพัดเข้าไปในบ้านได้ อาจใช้หลักความกดดันอากาศเป็นตัวล่อค่ะ

การติดตั้งฉนวนกันความร้อน เป็นอีกวิธีในการลดความร้อนจากหลังคาค่ะ โดยใช้ปล่องระบายอากาศเปิดสูงกว่าหลังคา เป็นอีกทางออกด้วยโดยในปล่องด้านบน อาจใช้วัสดุกักความร้อน เพื่อให้อากาศข้างบนมีความร้อนมากกว่าปกติ ตามธรรมชาติอากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้นไปข้างบน จึงมีช่องว่างทำให้อากาศด้านล่างจากภายนอก ซึ่งเย็นกว่าจะพัดเข้าไปในช่องว่าง วิธีการนี้จะรู้สึกว่าลมพัดเข้าบ้าน เป็นหลักง่าย ๆ ที่ได้ผลดีอ่ะนะคะ

การดีไซน์บ้าน ให้ได้ฟังก์ชั่นครบและประหยัดพลังงาน ไม่จำเป็นต้องใช้ของแพงจากเมืองนอกหรอกค่ะ แต่สถาปนิก รวมถึงผู้ประกอบการเจ้าของโครงการต้องคิดโจทย์มากกว่าการออกแบบทั่วไป และไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว หลายครั้ง ต้องแก้โจทย์ตามสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น ความชอบของเจ้าของในกรณีที่สร้างบ้านตามออร์เดอร์ ดูความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค และสภาพแวดล้อมการแข่งขันของตลาดในพื้นที่นั้นๆประกอบด้วย

"หัวใจ "สำคัญก็คือ ทำให้คนรู้จักใช้ธรรมชาติอย่างถูกต้อง ประหยัดพลังงานของโลก และช่วยประหยัดเงินให้เจ้าของบ้านด้วยค่ะ
 
 
ขอบคุณที่มา : http://www.hogied.com/

ข้อแนะนำ ในการเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง

หลังจากที่เราตกลงปลงใจจะสร้างบ้านสักหลังนึง และได้ทำการดำเนินการตามขั้นตอนทั้งในเรื่องของการจ้างสถาปนิกผู้เขียนแบบ และการขออนุญาตการก่อสร้างแล้ว ขั้นตอนต่อไปที่เราจะต้องทำก็คือ การเลือกผู้รับเหมาที่มีคุณภาพ ที่จะมารับผิดชอบสร้างบ้านแสนรักของเราให้ถูกใจ ถูกคนอ่ะนะคะ







ขั้นตอนการเลือก ผู้รับเหมาก่อสร้าง ที่ถูกใจ พอจะแนะนำคร่าว ๆ ได้ดังนี้ค่ะ

1. การเลือกผู้รับเหมานั้น อย่างน้อยควรเป็นผู้รับเหมาที่เราเคยเห็นผลงานมาก่อน หรือมีผู้แนะนำยืนยันมาก่อนอย่างน้อยก็ช่วยยืนยันได้ว่าผู้รับเหมาคนนี้ทำ งานรับผิดชอบไม่เบี้ยวงาน

2. หากต้องการหาผู้รับเหมาก่อสร้างเอง อย่างน้อยควรไปสำรวจตามสถานที่ก่อสร้างไซต์งานต่าง ๆ น่ะนะคะ ว่าเนื้องานเป็นอย่างไร เพื่อเปรียบเทียบงานของผู้รับเหมาแต่ละรายว่าเนื้อหาต่างกันอย่างไร





3. ก่อนการก่อสร้างต้องมีการทำสัญญา มีการออกแบบบ้านที่แน่นอนเพราะจะทำให้การดำเนินการก่อสร้างในขั้นต่อไปเป็น ไปด้วยความเรียบร้อยไม่เกิดปัญหาระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับเหมางาน

4. ผู้รับเหมาที่มีบริษัทตั้งเป็นหลักเป็นฐาน มีประวัติความเชื่อถือยาวนาน ย่อมน่าเชื่อถือกว่าบริษัทที่ตั้งตามคอนโดเพราะเชื่อได้ว่าบริษัทรับเหมาเหล่านี้ย่อมต้องรักษาความน่าเชื่อถือของบริษัทเอาไว้ไม่เบี้ยวงานหรือทิ้งงานโดยไม่รับผิดชอบ





5. สถาปนิกที่มีประสบการณ์ สามารถแนะนำผู้ว่าจ้างให้ได้ผู้รับเหมาที่ดีให้กับเราได้ค่ะ เพราะถือว่าเป็นงานที่เกี่ยวข้องกัน เห็นฝีมือ เห็นผลงานกันอยู่

6. การจ่ายเงินควรทำการจ่ายเป็นงวดๆ จ่ายตามเนื้องานไม่ควรให้มีการเบิกเงินล่วงหน้าเพราะอาจเกิดปัญหาการทิ้งงานได้





ซึ่งสำหรับข้อสุดท้ายนั้น ในตอนหน้าเราจะมาแนะนำถึงข้อแนะนำการแบ่งจ่ายเงินตามงวดงานเพื่อป้องกันความ เสียหายอันเนื่องมาจากผู้รับเหมาทิ้งงาน เบิกเงินเกิน ได้เงินแล้วไม่ทำงานกันนะคะ

แล้วพบกันใหม่ในบ้านแสนรักตอนหน้าค่ะ

กว่าจะมีบ้านแสนรัก สักหนึ่งหลัง ตอนที่ 2 ~

ในตอนที่แล้ว เราได้พูดกันถึง ขั้นตอนเริ่มต้นของผู้ที่กำลังต้องการที่จะมี บ้าน เป็นของตัวเองสักหลังหนึ่งอ่ะนะคะ

แต่เนื่องจากในปัจจุบันนี้ บ้าน และ ที่ดิน  มีอยู่หลายประเภทน่ะค่ะ แต่ ละประเภทก็มีลักษณะเฉพาะตัวเหมาะสมกับผู้อยู่อาศัย รวมไปถึงผู้ที่ต้องการลงทุนปลูกสร้างบ้านเพื่อเป็นสินทรัพย์ หรืออสังหาริมทรัพย์แตกต่างกันไป  ดัง นั้นก่อนที่เราจะตัดสินใจที่จะปลูกสร้างบ้าน เราจึงมีควรที่จะต้องตัดสินใจเลือกประเภทบ้านให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการ อยู่อาศัยและงยประมาณด้วย ทั้งนี้บ้านที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจแยกออกได้เป็น 8 ประเภทด้วยกันอ่ะนะคะ นั่นก็คือ

บ้านเดี่ยว  (Single-Family  Homes) 

เป็นแบบบ้านที่อยู่อาศัยที่มีคนนิยมมากที่สุดค่ะ  ลักษณะเป็นบ้านตั้งอยู่เดี่ยว    มีเนื้อที่กว้างขวางรั้วรอบขอบชิด  ทำให้ผู้อาศัยได้บรรยากาศของความเป็นส่วนตัว  และห่างไกลจากการรบกวนของเพื่อนบ้าน

บ้านชนิดนี้ปกติแล้จะมีขนาดใหญ่เล็กแตกต่างกันสามารถตกแต่งได้ในรูปแบบต่าง    ตามฐานะและรสนิยมของผู้เป็นเจ้าของ


อาคารพาณิชย์หรือตึกแถว  (Shop  Houses) 

เป็นแบบบ้านอีกลักษณะหนื่ง ที่ได้รับความนิยมมากในแถบชุมชนเมือง  เพราะนอกจากจะใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้แล้ว  ยังสามารถดัดแปลงให้เป็นสถานที่ทำการค้าหรือธุรกิจได้ด้วย  อาคารแบบนี้มักมีเนื้อที่แคบ  จึงนิยมก่อสร้างหลาย    ชั้น


ทาวน์เฮาส์  (Town  house)


เป็นบ้านที่มีลักษณะเหมือนตึกแถว บ้านประเภทนี้มักตั้งอยู่ในเมืองเช่นกัน  แต่จะต่างกับตึกแถวตรงที่มีบริเวณหน้าบ้านจัดเป็นสวนขนาดย่อมและจอดรถได้  ทาวน์เฮ้าส์ส่วนใหญ่มักเป็นแบบ  2-3  ชั้น  ใช้เนื้อที่ค่อนข้างน้อย  เนื่องจากเป็นที่ในเมืองและมีราคาแพง


แฟลตหรืออาพาร์ตเม้นต์  (Flat  or  Apartment) 

เป็นที่อยู่อาศัยที่มีลักษณะคล้ายอาคารพาณิชย์  คือมีหลาย    ชั้น  แบ่งเป็นหลายยูนิต  วัตถุประสงค์เพื่อให้เช่า  ปกติแล้วที่อยู่อาศัยแบบนี้  ค่าเช่ามักสูง  เพราะตั้งอยู่ในทำเลที่ดีและมีสิ่งอำนวยความสะดวก  ความปลอดภัยครบ

คอนโดมิเนียม  (Condominium)  หรืออาคารชุด 

เป็นอาคารที่มีหลายชั้น  แต่ละชั้นแบ่งเป็นห้องชุดจำนวนมาก  ซึ่งภายในห้องประกอบด้วยห้องนอน  ห้องรับแขก  ห้องน้ำ  ฯลฯ  อาคารชุดแต่ละแห่งมักมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบถ้วน  โดยทั่วไปแล้วอาคารชุดจะตั้งอยู่ในกลางเมือง  หรือในที่ชุมชนที่มีการคมนาคมสะดวก 

อาคารชุดมีหลายประเภท  ทั้งประเภทที่อยู่อาศัย  (Residential  Condominium)  และประเภทสำนักงาน  (Office  Condominium) 


ผู้ซื้ออาคารชุดจะมีกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของอาคารชุดของตน  และมีกรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินส่วนกลาง  อันได้แก่  ห้องโถง  ที่จอดรถ  ลิฟต์  สนาม  และทางเดิน  เป็นต้น  ดังนั้นค่าใช้จ่ายในการดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง  ผู้เป็นเจ้าของอาคารชุดจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบ


สหกรณ์เคหสถาน (Cooperative  Housing) 

เป็นที่อยู่อาศัยแบบสหกรณ์  ลักษณะเป็นอาพาร์ตเมนต์เพล็กซ์  คล้ายคอนโดมิเนียม  หลาย ๆ ท่านคงจะไม่ค่อยคุ้นกับที่อยู่ที่อยู่อาศัยประเภทนี้  เกิดขึ้นโดยผู้ต้องการที่อยู่อาศัย  จะลงทุนซื้อหุ้นของสหกรณ์และสหกรณ์จะนำเงินนั้นไปซื้อที่ดินและสร้างอาคารให้สมาขิกได้เช่าอยู่  สมาชิกต้องช่วยกันออกค่าบำรุงรักษา  ซ่อมแซม  ค่าภาษี  สมาชิกแต่ละหน่วย  มีสิทธิออกเสียงได้หนึ่งเสียงในการเลือกตั้งกรรมการบริหาร


บ้านเคลื่อนที่  (Mobile  Home) 
บ้านชนิดนี้  ในเมืองไทยมักไม่ค่อยคุ้นเคยกันค่ะ  แต่ในต่างประเทศมีมานานแล้วนะคะ  ลักษณะเป็นบ้านที่สร้างสำเร็จรูปจากโรงงาน  และย้ายมาติดตั้งในทำเลที่กำหนดให้เป็นพื้นที่ของบ้านเคลื่อนที่  ผู้ที่เริ่มตั้งครอบครัวใหม่นิยมอยู่บ้านเคลื่อนที่  เพราะราคาไม่แพงนัก  บางคนก็ใช้บ้านเครื่องที่เป็นสำนักงานเคลื่อนที่  เช่น  ผู้รับเหมาเวลาไปรับเหมาก่อสร้างตามแหล่งรับเหมาต่าง ๆ 


บ้านแบบนี้ สามารถขับเคลื่อนหรือพ่วงกับรถคันอื่นได้  ลักษณะภายใน มีเครื่องอำนวยความสะดวกเหมือนบ้านทั่วไป  บ้านแบบนี้บางทีนิยมใช้เป็นบ้านของดาราภาพยนตร์ หรือนักแสดงซึ่งต้องเดินทางเสมอ   ก็จะซื้อรถขนาดใหญ่ปรับปรุงภายในให้เหมือนบ้าน  คือ  มีห้องนอน  ห้องเตรียมอาหาร ห้องน้ำ  เพียงแต่ละห้องมีขนาดเล็กเท่านั้น   สำหรับผู้ที่ชอบท่องเทียวทัศนาจร  บริษัทท่องเที่ยวบางแห่งก็จะมีรถยนต์ให้เช่า  ซึ่งจะตกตกแต่งภายในเหมือนบ้านอยู่อาศัย  ขับไปท่องเที่ยวในที่ต่าง ๆ ได้  บ้านลักษณะนี้เรียกว่า Motor  Home  นิยมใช้กันมากตามเมืองท่องเทียว  และใช้มากในช่วงของฤดูกาลท่องเที่ยว   ซึ่งผู้ใช้จะสามารถประหยัดค่าโรงแรกที่พักได้มาก  เพราะไปกันได้หลายคน  และใช้ได้ในช่วงเวลายาวนานอีกด้วย

บ้านที่แบ่งเวลาการพักอาศัย  (Time-Share  Homes) 

บ้านแบบนี้ตามชื่อก็บอกลักษณะให้ทราบว่ามีการแบ่งเวลาหรือหมุนเวียนกันใช้ประโยชน์ในบ้านพักอาศัยดังกล่าว  ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการพักผ่อน เช่น  บ้านพัก  หรือเรือนรับรอง  ที่อยู่ตามชายหาด หรือแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ  โดยมีบุคคล  บริษัท หรือโครงการจัดสรรเป็นเจ้าของ  ใครต้องการไปพักผ่อนในช่วงไหน  ก็ขอเช่าใช้บ้านพักในช่วงนั้น  ซึ่งจะมีการแบ่งเวลากันในระหว่างผู้ต้องการใช้  มีตั้งแต่ 1 สัปดาห์  จนถึง 6 เดือน  ราคาค่าเช่าก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง  เป็นต้นว่า  ระยะเวลาในการเช่า  ขนาดของบ้าน  ทำเลที่ตั้ง  สิ่งอำนวยความสะดวก  ตลอดตนฤดูกาลของการเช่าพัก

(ปัจจุบันมีคอนโดมิเนียมบางแห่ง  ซึ่งได้ขายไปแล้ว  ก็ยังให้บริการในลักษณะของ Time  Sharing  ด้วย  คือขณะหนึ่งขณะใดที่เจ้าของไม่ได้อยู่เอง  ก็มอบหมายให้ผู้จัดการคอนโดมิเนียมนั้นดูแลให้  โดย หาผู้ที่ต้องการพักผ่อนในช่วงดังกล่าวมาเช่าอยู่แทนซึ่งทำให้เจ้าของมีราย ได้ในขณะที่ไม่ได้ใช้อยู่อาศัยเองเพียงแต่จ่ายค่าบริการจัดการดังกล่าวบ้าง เท่านั้น  นอกจากนั้นรูปแบบที่เคยมีการดำเนินการกัน  ยังมีการขายสถานที่พักตากอากาศในลักษณะของคอนโด  เช่น (Condo chain)กล่าวคือเจ้าของกิจการคอนโดเซน  จะมีการจำหน่ายห้องกัดตากอากาศ ซึ่งตั้งอยู่ตามสถานที่ตากอากาศหลาย ๆ  แหล่ง  ผู้ที่ซื้อห้องชุด    สถานที่ตากอากาศแห่งหนึ่ง  จะได้ใช้สิทธิในการใช้ห้องพักของโครงการเดียวกันซึ่งตั้งอยู่    สถานที่ตากอากาศอื่นได้ฟรีปีละกี่วัน  ตามที่เจ้าของโครงการกำหนด  อย่างไรก็ดีแนวคิดในเรื่อง  Time-Share  Home  เป็นเรื่องที่มีแง่มุมทางกฎหมายอยู่หลายเรื่อง  ดังนั้นผู้ที่ลงทุนในที่อยู่อาศัยลักษณะนี้ควรจะได้มีการปรึกษาผู้รู้ในด้านกฎหมายอย่างละเอียดเสียก่อน)

รู้จัก ประเภทของบ้านในแบบต่าง ๆ กันไปแล้ว คราวหน้าเราจะลองมาโฟกัสกันดูนะคะ ว่าบ้านในสไตล์ต่าง ๆ ที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบันนี้ มีแบบไหนกันบ้าง

แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้าค่ะ :)

ขอบคุณที่มา : http://www.wimarn.com/

กว่าจะมีบ้านแสนรัก สักหนึ่งหลัง ตอนที่ 1 ~

ขั้นตอนสำหรับการสร้างบ้าน
                                                                                                
 สำหรับ คนที่กำลังคิดจะมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลังนึง แต่เบื่อกับข้อจำกัดหลายหลากของบ้านจัดสรร แถมยังการันตีไม่ได้อีกด้วยว่า แบบบ้านและทำเลของบ้านที่ตัวเองไปตระเวนหาดูจะเหมาะกับการใช้ชีวิตของตัวเอง การลงมือสร้างบ้านบนที่ดินของตัวเอง ก็ดูเหมือนจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด และเหมาะที่สุดอีกทางหนึ่งอ่ะนะคะ
วันนี้เป็นวัน เริ่มต้นประเดิมการเขียนบล้อก "บ้านแสนรัก" เป็นครั้งแรก ก็เลยนำเอาสาระ ขั้นตอน ความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับการสร้างบ้านด้วยตนเอง (โดยจ้างผู้รับเหมานะ 555+) มาฝากกันค่ะ         

ขั้นตอนแรก ก่อนอื่นก็ต้องติดต่อสถาปนิก/บริษัทออกแบบก่อน

ขั้น ตอนนี้เริ่มต้นโดยคุณจะต้องติดต่อกับบริษัทที่รับสร้างบ้านต่าง ๆ หรือติดต่อสถาปนิกโดยตรงค่ะ ซึ่งคุณสามารถหาได้จากการลองตระเวนดูผลงานจากสถานที่ก่อสร้างจริง เพื่อให้เห็นถึงคุณภาพและรูปแบบที่ตรงกับความชอบของคุณ หรือจะติดต่อผ่านทางสมาคมสถาปนิกสยาม เพื่อขอคำแนะนำก็ได้

ข้อสำคัญที่สุดคือต้องบอกความต้องการโดยละเอียดแก่สถาปนิกเพื่อให้เกิดความ เข้าใจที่ตรงกัน โดยสถาปนิกจะคิดค่าออกแบบเป็นเปอร์เซนต์ตามงบประมาณการก่อสร้าง  ซึ่งกำหนดโดยสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์  

โดยสำหรับอาคารประเภทบ้านพักอาศัยดังนี้ค่ะ
- งบประมาณก่อสร้าง ไม่เกิน 10 ล้านบาท จะคิดค่าออกแบบ7.5% ของงบประมาณ    
- การตกแต่งภายใน ถ้างบประมาณก่อสร้างไม่เกิน 10ล้าน จะคิดค่าออกแบบ 10% ของงบประมาณ      
ถ้างบประมาณมากกว่านี้ สัดส่วนของค่าออกแบบ ทั้ง 2 ชนิดจะลดลง
แต่ก็ใช่ว่าราคานี้จะเป็นราคาที่ตายตัวนะคะ เป็นแค่ราคาคากลางที่ทางสมาคมเค้ากำหนดมาเท่านั้นเอง ส่วนใหญ่ ค่าออกแบบหรือเขียนแบบนั้น จะเป็นเรื่องของการตกลงราคาที่เหมาะสม พอใจ ระหว่าง เจ้าของบ้านและสถาปนิกผู้ออกแบบมากกว่าค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเป็นบ้านที่ก่อสร้างอยู่ในแถบต่างจังหวัด ซึ่งราคาค่าเขียนแบบนั้นก็จะไม่สูงมาก นัก                                                                            

โดยขั้นตอนของการออกแบบและตกแต่งภายในจะเป็นแบ่ง 6 ขั้นตอนค่ะ นั่นก็คือ
1.ขั้นตอนการให้คำปรึกษา

ขั้นตอนนี้เป็นการพบปะพูดคุยกันระหว่างนักออกแบบและลูกค้า เพื่อรวบรวมข้อมูลและความต้องการของลูกค้าค่ะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว ก็จะมีการพูดคุยกันมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อดูความสามารถและรูปแบบงานของผู้ออกแบบและดูว่าสามารถทำงานร่วมกันได้ หรือไม่  ส่วนมากขั้นตอนนี้นักออกแบบจะไม่เก็บค่าบริการหรือคิดค่าบริการเพียงเล็ก น้อย เนื่องจากเป็นขั้นตอนการพิจารณาว่าจะรับงานหรือไม่


2.ขั้นการวางผัง และแนวความคิด

นักออกแบบจะนำเสนอภาพรวมคร่าวๆ ของบ้านในด้านแนวความคิด รูปแบบและการแบ่งพื้นที่ใช้สอย เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นภาพรวมว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ และมีการแก้ไขและพัฒนาไปสู่แบบร่างขั้นต่อไป

3.ขั้นการพัฒนาแบบร่างขั้นต้น

สำหรับขั้นตอนนี้นักออกแบบจะนำแนวความคิดและภาพรวมที่ได้จากขั้นตอนที่แล้ว มาพัฒนาโดยอาจจะนำเสนอในรูปแบบของหุ่นจำลอง( Model )  ภาพร่าง( Sketch ) หรือ รูปทัศนียภาพ( Perspective ) เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจแบบได้อย่างดีมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่ลูกค้าต้องการปรับปรุงและเพิ่มเติมในแบบไปพัฒนาต่อ



4.ขั้นการพัฒนาแบบร่างขั้นสุดท้าย 

ขั้นตอนนี้นักออกแบบจะนำเสนองานในรูปแบบที่เหมือนจริงมากยิ่งขึ้นด้วยการทำ หุ่นจำลอง( Model ) หรือ รูปทัศนียภาพ( Perspective )แสดงรายละเอียดของมุมมองต่าง ๆ ในบ้าน เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ไขในรายละเอียด

5.ขั้นการกำหนดวัสดุตกแต่งภายใน

ขั้นตอนนี้นักออกแบบจะนำข้อมูลของวัสดุมาให้ลูกค้าเลือกอ้างอิงจากแบบร่าง ครั้งก่อน โดยการจัดทำเป็นแผ่นกำหนดวัสดุตกแต่ง หรือ Material Board เพื่อให้ลูกค้าได้เปรียบเทียบและเลือกดูได้ตามความพอใจ

6.ขั้นการเขียนแบบรายละเอียด

ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 20-30 วันเนื่องจากนักออกแบบจะนำแบบร่างและรายการวัสดุที่ลูกค้าได้เลือกมาอ้างอิง เพื่อเขียนแบบรายละเอียดและส่งให้ลูกค้าตรวจดูเพื่อแก้ไขและพิจารณาก่อนจะ ดำเนินการเขียนแบบจริง

ขั้นที่สอง ขออนุญาตปลูกบ้าน

หลัง จากได้คุยกับสถาปนิกแล้วสถาปนิกและวิศวกรจะร่วมกันเขียนแบบและปรับปรุงแบบ บ้านจนเป็นที่พอใจของเจ้าของบ้าน หลังจากนั้นต้องนำไปขออนุญาตจากทางเทศบาล โดยต้องกรอกเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1) , แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด,หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และ วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต ,สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง ,สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของ อ่ะนะคะ

ขั้นตอนการปลูกสร้าง เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะได้เห็นงานจริง ตั้งแต่เริ่มต้นค่ะ โดยในขั้นตอนนี้ สถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบรวมทั้งเจ้าของบ้านจะต้องให้ความสำคัญและใส่ใจใน รายละเอียด โดยสถาปนิกจะต้องคอยควบคุมดูแลให้การก่อสร้างดำเนินไปตามแบบที่สางเอาไว้และ ให้คำปรึกษาแก้ผู้รับเหมาเมื่อเกิดปัญหาในการก่อสร้างหน้างาน  โดยจะแบ่งตามลำดับขั้นตอนการก่อสร้าง คือ

ขั้นตอนที่ 1 ตอกเข็มหล่อฐานราก คานคอดิน และ ตั้งเสาชั้นล่าง
ขั้นตอนที่ 2 หล่อคานชั้นบน และเสาสำหรับรับ หลังคาชั้น 2
ขั้นตอนที่ 3 มุงหลังคา ก่ออิฐผนัง ฉาบปูน ติดตั้ง วงกบ ใส่ฝ้าเพดาน
ขั้นตอนที่ 4 ปูวัสดุพื้น ติดตั้งประตู หน้าต่าง ติด ตั้งระบบท่อน้ำ
ขั้นตอนที่ 5 บุผนังกระเบื้อง ติดตั้งสุขภัณฑ์ ทาสี เดินสายไฟ ติดตั้งดวงโคม เก็บรายละเอียดส่วนที่เหลือให้ เรียบร้อย

คราวหน้าเราจะมาว่ากันต่อ ถึงเรื่องราวของการกว่าจะมีบ้านแสนรัก สักหลังหนึ่ง ตอนที่ 2 นะคะ
ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามรับชมค่ะ :)
ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.forfur.com/blog/

บ้านสไตล์คันทรี : home country style

กลับมาพบกันอีกครั้งใน "บ้านแสนรัก" ค่ะ


วัน นี้อิชั้นจะพาเพื่อน ๆ ทุกท่านมารู้จักกับบ้านสไตล์ต่าง ๆ ทั่วโลก ที่ได้รับความนิยมและเลือกสรรมาปลูกเป็นบ้านพักอาศัยกันอ่ะนะคะ เรามาเริ่มต้นกันด้วยแบบบ้านสไตล์แรกกันก่อนเลยค่ะ


แบบบ้านสไตล์คันทรี่ : home country style


บ้าน ที่เป็นสไตล์คันทรีมักจะอยู่ในชนบทค่ะ ด้วยบรรยากาศของธรรมชาติ สายน้ำและขุนเขา ทำให้บ้านสไตล์คันทรีในชนบท มีความลงตัวและบ่งบอกถึงความเป็นคันทรีสไตล์ บ้านสไตล์คันทรีของแต่ละประเทศก็จะมีความแตกต่างกันออกไปตามภูมิประเทศและ ภูมิอากาศนะคะ ถ้าเปรียบเทียบ บ้านสไตล์คันทรีของประเทศเรา ก็น่าจะเป็นบ้านที่ยกสูง มีใต้ถุนบ้าน เพราะบ้านเรามีน้ำเยอะ การยกบ้านให้สูงก็เป็นการป้องกันน้ำท่วม และในช่วงหน้าร้อน ก็ยังถ่ายเทอากาศได้ดีอีกด้วย ดังนั้น บ้านสไตล์คันทรี จึงไม่สามารถเจาะจงได้ว่าต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้ ขึ้นอยู่กับสภาพโดยรวม แต่ที่สำคัญก็คือ บ้านต้องอยู่สบายและเข้ากับธรรมชาติได้ดีอ่ะนะคะ



แบบบ้านโดยรวมของบ้านสไตล์คันทรี

วัส ุดที่ใช้ทำบ้านสไตล์นี้ จะเป็นวัสดุจากธรรมชาติเสียเป็นส่วนใหญ่ค่ะ ไม่ว่าจะเป็น อิฐ หิน ไม้ หรือแม้แต่ดิน ก็สามารถทำบ้านสไตล์คันทรีได้ทั้งนั้น แต่การเลือกเฟอร์นิเจอร์เพื่อใช้ตกแต่งในบ้าน ก็มีความสำคัญไม่แพ้วัสดุที่ใช้ทำบ้านเลยนะคะ คุณควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ อาจจะเป็นเฟอร์นิเจอร์ไม้หยาบ ๆ จึงจะบ่งบอกถึงความเป็นสไตล์คันทรีได้เป็นอย่างดี



แบบ บ้านสไตล์คันทรีนี้ เหมาะกับคนที่ชอบอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ และรักธรรมชาติค่ะ เพราะบ้านสไตล์คันทรีมีองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด นั่นก็คือธรรมชาติ แต่ถ้าพื้นที่บ้านคุณไม่เอื้ออำนวย คุณก็อาจจะเปลี่ยนการตกแต่งสวนรอบ ๆ บ้านแทนก็ได้เช่นกันนะคะ
 

ขอบคุณข้อมูลจาก :
http://homebaan.blogspot.com/
ภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

บ้านสไตล์โมเดิร์น : The Modern Style

มาถึงแบบบ้านประเภทที่สอง ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในเมืองไทยของเรากันนะคะ นั่นก็คือ บ้านแบบสไตล์โมเดิร์น นั่นเองค่ะ





จุด กำเนิดของการออกแบบบ้านรูปแบบโมเดิร์นนั้นได้รับอิทธิพลมาจากยุคปฏิวัติ อุตสาหกรรมในช่วงศตวรรษที่ 18 – 20  ซึ่งเป็นยุคที่คำนึงถึงคุณค่าและศักยภาพการใช้งานของสิ่งต่าง ๆ ประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่า ประหยัดวัสดุและแรงงานในการก่อสร้าง

ดัง นั้นจึงเกิดการลดทอนองค์ประกอบตกแต่งที่ฟุ่มเฟือย มาใช้รูปทรงเรขาคณิตขั้นพื้นฐานที่มีความเรียบง่าย ไม่มีการตกแต่งหรือปกปิดพื้นผิว เป็นการยอมรับลักษณะที่เป็นธรรมชาติของวัสดุและโครงสร้าง เนื่องจากคำว่า Modern ในภาษาอังกฤษ แปลว่า ใหม่หรือทันสมัย จึงหมายถึง การออกแบบในรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับยุคนั้น



 

บ้านในรูปแบบโมเดิร์น ก็คือ บ้านรูปทรงที่สามารถตอบสนองประโยชน์ใช้สอยได้สูงสุด บ้านโมเดิร์นมีลักษณะเด่นในการใช้รูปทรงแบบเรขาคณิต เช่น สี่เหลี่ยมหรือเส้นโค้งที่เกิดจากส่วนของวงกลม สำหรับแนวคิดหลักของการออกแบบโมเดิร์นเป็นการเลือกใช้รูปทรง โครงสร้างและวัสดุที่สามารถตอบสนองการใช้งานได้ดี หรืออีกนัยหนึ่งคือรูปทรงของอาคารถูกกำหนดจากลักษณะการใช้งาน ไม่มีการประดับตกแต่งส่วนเกิน เคารพในธรรมชาติของวัสดุและโครงสร้าง เช่น การโชว์เสา คาน หรือส่วนของโครงสร้างอาคารอย่างไม่มีปิดปัง ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก คอนกรีต กระจก หรือไม้ โดยถือว่าเป็นความงามชนิดหนึ่ง




หลัก การสำคัญของการออกแบบบ้านโมเดิร์นอีกประการหนึ่ง คือ ความสะดวกสบายในการอยู่อาศัย ไม่มีปัญหาตามมาภายหลัง เช่น การออกแบบบ้านไม่มีชายคายื่นจากตัวบ้านโดยเข้าใจผิดว่าเป็นลักษณะของบ้านรูป แบบโมเดิร์น แต่มีปัญหาน้ำฝนสาดหรือรั่วเข้ามาทางประตูและหน้าต่าง ทั้งที่ความจริงแล้วหลักของการออกแบบบ้านโมเดิร์น คือ การเคารพในรูปร่างธรรมชาติของวัสดุ ไม่มีการตกแต่งปิดปังให้สิ้นเปลืองและจะต้องอยู่อาศัยได้อย่างสะดวกสบายด้วย นั่นเองอ่ะนะคะ





ขอบคุณที่มา : http://www.hometophit.com/hometh/
ภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

แบบบ้านสไตล์รีสอร์ท : resort style

ปัจจุบันนี้ลักษณะบ้านได้ปรับขนาดและความต้องการบางอย่างให้สอดคล้องกับ การใช้ชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของผู้ที่ต้องการเป็นเจ้าของอ่ะนะคะ อย่างเช่น ปรับขนาดให้เล็กลง มีพื้นที่ใช้สอยเฉพาะที่จำเป็น อีกทั้งปัจจุบันนี้สภาพการใช้ชีวิตประจำวันของเราค่อนข้างจะวุ่นวาย ยุ่งเหยิง บางท่านก็มีงานเยอะเสียจนขาดโอกาสในการเดินทางที่จะไปพักผ่อนหย่อนใจตามสถาน ที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ บ้านสไตล์รีสอร์ทจึงถือกำเนิดขึ้น โดยยึดหลักของการสร้าง และตกแต่งให้คล้ายกับเราได้ไปพักผ่อน ตากอากาศตลอดเวลาแม้เมื่ออยู่บ้าน บ้านประเภทนี้มักเน้นความรู้สึกโปร่งสบาย อากาศถ่ายเท ใกล้ชิดธรรมชาติให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลายโดยที่ไม่ต้องเดินทางไปไหนไกล ๆ เลยค่ะ :)







บ้านสไตล์บาหลี

จะ เป็นบ้านในแถบอากาศร้อนชื้นฝนตกชุก จึงมีระยะชายคายื่นยาวปกคลุมได้ดี ค่ะ ประกอบกับชาวบาหลีนั้น มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้า จึงมีการเอารูปปั้นเทพองค์ต่างๆมาประดับทางเข้าหลักทั้งหน้าบ้านและ รั้ว  สีสันมักเลือกสีในโทนร้อนเช่นส้มหรือสีอิฐแดงและมักมีบ่อน้ำประกอบกับ ตัวบ้าน


                                                                                            

"บาหลีสไตล์" นับเป็นอีกหนึ่งแบบบ้านที่อยู่ในกระแสเสมอไม่เคยตกยุค ไม่ว่าเทรนด์แฟชั่นจะอินไปกับสมัยนิยมที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างต่อ เนื่องอย่างไร แต่การได้หวนคืนสู่ความเป็นธรรมชาติในแบบฉบับบาหลี ก็ยังคงให้สัมผัสแห่งความสบายและอบอุ่น เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการได้ อยู่อย่างกลมกลืนกับธรรมชาติอ่ะนะคะ






ที่มา : บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน)

บ้านทรงไทยประยุกต์

ชีวิตสังคมและความเป็นไปของบ้านเรา ( ประเทศไทย ) ในขณะนี้ดูเหมือนจะเข้าสู่ยุคการผสมผสานอย่างชัดเจน เป็นต้นว่าดารานางแบบลูกครึ่งก็มาแรงด้วยครบสมบูรณ์แบบของกายวิภาค ภาคการเกษตรก็มีการตัดต่อพันธุกรรม ภาคการออกแบบก็อยู่ในยุคร่วมสมัย ( Contemporary )

แม้แต่อาคารบ้านเรือนแบบไทย ๆ แท้ ๆของเราเวลานี้ ก็เดินทางเข้าสู่ยุคแห่งความผสมผสาน จนยากจะหาเจ้าของที่อยากสร้าง บ้านไทย เรือนไทย อยุธยาแท้ ๆ สักหลังอ่ะนะคะ

บ้านทรงไทย นั้นมีทั้งข้อดีและข้อด้อยอยู่ในตัวของบ้านเองค่ะ ข้อดีก็อย่างเช่น เข้ากับภูมิอากาศบ้านเรา ใต้ถุนสูง หลังคาสูง มีจั่วรับลม มีลานกว้างกลางบ้าน มีพื้นที่โล่งโปร่งสบาย มีครัวไทย แต่อาจจะไม่ล้ำ นำสมัยเหมือนบ้านสมัยใหม่ที่เคาะแบบออกมาจากทางตะวันตก

ปัจจุบันนี้จึงได้เกิดการออกแบบบ้านทรงไทยประยุกต์ ซึ่งมีการผสมผสานระหว่างรูปแบบเก่าของบ้านทรงไทย กับบ้านแบบตะวันตกขึ้นมาค่ะ มาดูกันนะคะ ว่าบ้านทรงไทยประยุกต์ที่ว่า มีตัวอย่างหน้าตาอย่างไรบ้าง







 
บ้านไทยแบบประยุกต์ ที่เห็นในปัจจุบันส่วนมากจะมีวิธีผสมผสาน 2 แบบค่ะ นั่นก็คือ

1.ประยุกต์แบบ ตัดต่อ เช่น ชั้นบนไทยชั้นล่างปูน หรืออาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาจั่วไทย เป็นต้น

2.ประยุกต์แบบ เชื่อมโยง เช่น อาคารก่ออิฐ ถือปูน แต่มีคิ้วบัวย่อมุมตามแบบไทย หรือนำเอาบานหน้าต่างยกแผงจากบ้านไทยมาใช้เลย หรือบางทีก็ละเมียดขนาดที่ว่าดึงเอาเพียงรูปร่าง รูปทรง สี ที่ว่างบางประการจาก บ้านไทยโบราณ มาออกแบบใหม่





อย่าง ไรก็ดี การทำ บ้านไทยประยุกต์ ก็มีวัตถุประสงค์เพื่อการอยู่อาศัยที่สุขสบาย สะดวก เป็นประเด็นหลัก ขึ้นอยู่กับกลวิธีของการประยุกต์ว่าเรามีความเข้าใจ ความละเอียดอ่อน ในการเชื่อมโยงมากน้อยเพียงใด สิ่งที่ปรากฏก็จะแสดงตัวตนและรากเหง้าทาง ภูมิปัญญาไทย ของเราเองอ่ะนะคะ



ขอบคุณ ที่มา : http://studentwork.srp.ac.th/Website/Science/architecture/main/chapter1/ch2.html

ภาพประกอบจาก อินเตอร์เน็ต

บ้านทรงไทย

บ้านเรือนไทย หรือบ้านทรงไทย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาคค่ะ โดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยสมัยก่อนและแสดงออกถึง ภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบเรือนไทยมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูมิภาค โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น

  • เรือนไทยภาคเหนือ
  • เรือนไทยภาคกลาง
  • เรือนไทยภาคอีสาน
  • เรือนไทยภาคใต้
ลักษณะทั่วไปของเรือนไทย

เรือนไทยสามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะตัวค่ะ ได้แก่ เรือนเครื่องสับ, เรือนเครื่องผูก, เรือนเครื่องก่อ ในที่นี้เราจะอนุมานถึงเรือนไทยเครื่องสับ เนื่องจากเป็นเรือนไทยที่ได้รับความนิยมสูงสุดโดยมากใช้เป็นเรือนสำหรับอยู่ อาศัยตั้งแต่สามัญชน คนธรรมดาตลอดจนผู้มีฐานานุศักดิ์ชั้นสูงในสังคม เรือนไทยเครื่องสับทำด้วยไม้เนื้อแข็งน่ะนะคะ





ลักษณะของเรือนไทย ส่วนใหญ่จะสร้างด้วยไม้หรือวัสดุที่หาได้จากธรรมชาติตามท้องถิ่นนั้นๆ

มักสร้างด้วยวิธีประกอบสำเร็จรูปทั้งในเรือนเครื่องสับและเรือนเครื่องผูก สามารถรื้อถอนขนย้ายไปปลูกสร้างที่อื่นได้

มีหลังคาทรงสูง ทรงสูงจะทำให้การระบายน้ำออกจากหลังคารวดเร็ว และช่วยลดความเสี่ยงจากการรั่วซึมของหลังคาอีกด้วย เมื่อสังเกตที่ชายหลังคาจะเห็นว่า มี กันสาด ยาวตลอดเพื่อป้องกันแสงแดดจัด ที่ปลายทั้งสองด้านของหลังคาจะมียอดแหลมเรียกว่า “เหงา” เนื่องจากความเชื่อในสมัยก่อนที่ชาวบ้านนิยมนำเขาสัตว์มาแขวน บริเวณเชิงหลังคาเพื่อป้องกันและขับไล่ทูตผีปีศาจและวิญญาณชั่วร้ายไม่ให้ เข้ามาในบ้าน





มีพื้นที่โล่งใต้เรือนไทยเรียกว่าบริเวณใต้ถุน โดยแต่เดิมบริเวณใต้ถุน บ้านจะถูกปล่อยไว้มิได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่อาจเป็นที่สำหรับเก็บอุปกรณ์ การกสิกรรม หรือเป็นที่ทำหัตถกรรมนอกฤดูเก็บเกี่ยว แต่โดยมากมัก จะถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์เนื่องจากในฤดูน้ำหลาก น้ำจะท่วมบริเวณใต้ถุนบ้านทำให้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้การเลือกบริเวณที่อยู่อาศัย ให้มีน้ำท่วมถึงเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อคนไทยในสมัยโบราณเป็นอย่างมากเนื่อง จาก ประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม ทั้งนี้การยกเรือนไทยสูงจากพื้นยังช่วยป้องกันสัตว์ร้ายที่อาจมากับน้ำ เช่น งู หรือ ตะขาบได้อีกด้วย





เรือนไทยมีลักษณะเป็นเรือนขยายคือจะมีการขยายโดยสร้างเรือนไทยใหม่ที่อยู่ใน บริเวณเรือนเก่า โดยจะเชื่อมต่อโดยใช้ “นอกชาน” เชื่อม เรือนไทยแต่ละเรือนไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่นเมื่อครอบครัวมีสมาชิกใหม่ก็จะสร้างเรือนใหม่ไว้ใกล้เรือนเก่า ของพ่อแม่โดยจะรวมอยู่ในบริเวณเดียวกัน

การยึดเรือนไว้ด้วยกันจะไม่ใช้ตะปู แต่จะใช้เทคนิค การเข้าเดือยไม้ ซึ่งเป็นเทคนิคเฉพาะของเรือนเครื่องสับ

 โครงสร้าง

เรือน ไทยมีโครงสร้างแบบเสาและคานซึ่งถ่ายน้ำหนักมาจากหลังคาลงพื้น โดยผ่านเสาลงสู่ฐานราก เสาบ้านมีลักษณะสอบเข้า และเป็นเสากลม โคนโต ปลายสอบ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของเรือนไทยไม่ให้ทรุดตัวได้ง่าย เนื่องจากฤดูน้ำหลาก พื้นดินจะ เป็นโคลนตม และตัวเรือนอาจเกิดการทรุดตัวได้ง่ายหากไม่มีการล้มสอบของเสาเรือน

จริง ๆ แล้ว เรือนไทยนั้นมีความเหมาะสมสำหรับคนไทย ที่ใช้ชีวิตอยู่บนแผ่นดินไทยซึ่งเป็นเมืองร้อน ค่ะ จึงได้ถูกออกแบบมาได้อย่างให้เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์และการอาศัยอยู่ใน เรือนรูปแบบนี้ แต่เนื่องจากเรือนไทยของเรา มักใช้ไม้ในการปลูกสร้างการปลุกสร้าง จึงอาจจะมีราคาแพงมากกว่าบ้านที่ก่อสร้างด้วยปูน เพราะจะต้องใช้ไม้ในการก่อสร้างทั้งหมด ค่าแรงก็แพง หาฝีมือช่างก็อาจจะยากซักหน่อย จึงทำให้ผู้คน ทั่วไปในสมัยนี้ ไม่ค่อยปลูกสร้างบ้านที่อยู่อาศัยเป็นเรือนไทยกันน่ะนะคะ แต่มักจะก่อสร้างแบบสมัยใหม่ เป็นบ้านที่ก่ออิฐ ปูน หรือ คอนกรีต ตามแบบสมัยนิยม ลอกแบบ หรือประยุกต์แบบ้านมาจากต่างประเทศ เรือนไทยแท้ ๆ สมัยนี้จึงหาดูได้ยากทีเดียวค่ะ



ขอบคุณ ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/